วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตัวต้านทาน(Resistor )

ตัวต้านทาน(Resistor )

เป็นอุปกรณ์ที่ สามารถจำกัดจำนวนกระแสไฟฟ้า ภายในตัวต้านทานจะประกอบด้วยผงคาร์บอนผสมกับตัวยึดเหนี่ยวคล้ายกาว ชนิดของตัวต้านทานได้แก่ คาร์บอน, ฟิล์มคาร์บอน, ขดลวด เป็นต้น สัญลักษณ์ของตัวต้านทาน

ค่าของตัวต้านทาน
ตัวต้านทานมีค่าที่เรียกว่าความต้านทาน(resistance)มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohm:W)แต่
หน่วยโอห์มนี้เล็กมาก โดยหน่วยของความต้านทานที่นิยมใช้คือกิโลโอห์ม(Kilo ohm:KW)และ เมกกะ(Mega ohm:MW)ซึ่งจะถูกพิมพ์ไว้บนตัวต้านทานแทนด้วย รหัสสี

รหัสสี สี แถบ 1 หลักสิบ แถบ 2 หลักหน่วย แถบ 3 ตัวคูณ แถบ 4 ค่าคลาดเคลื่อน
ดำ(black)
0 0 1 ทอง(gold) = -5%หรือ +5%
น้ำตาล(brown)
1 1 10 เงิน(silver) = -10%หรือ +10%
แดง(red)
2 2 100 ไม่มีสี(none) = -20%หรือ +20%
ส้ม(orange)
3 3 1,000(1K)
เหลือง(yellow)
4 4 10,000(10K)
เขียว(green)
5 5 100,000(100K)
น้ำเงิน(blue)
6 6 1,000,000(1M)
ม่วง(violet)
7 7 10,000,000(10M)
เทา(gray)
8 8 100,000,000(100M)
ขาว(white)
9 9 ไม่มี

กลับไปที่สารบัญ

ตัวเก็บประจุ(Capacitor หรือ Condenser)

เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ มีการไปใช้ในวงจรกรองแรงดัน, วงจรกรองความถี่,
ใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณ (coupling) เป็นต้น ภายในตัวเก็บประจุจะประกอบด้วยแผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่น
วางห่างกันโดยมีสารไดอิเล็กตริกกั้นอยู่ระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสอง ชนิดของตัวเก็บประจุจะขึ้นอยู่กับสารไดอิเล็กตริกที่ใช้
อันได้แก่ เซรามิก, ไมล่าร์, อิเล็กทรอไลต์, โพลีเอส-เตอร์.แทนทาลั่ม,แก้ว เป็นต้น
สัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุ

ค่าของตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุมีค่าที่เรียกว่าความจุไฟฟ้า(capacitance)มีหน่วยเป็นฟารัด(Farad)แต่ทว่า หน่วยฟารัดนี้ใหญ่มาก
จึงต้องทอนลงมาให้เป็นหน่วยย่อยโดยหน่วยของความจุไฟฟ้าที่นิยมใช้คือไมโครฟารัด(microfarad:mF),
นาโนฟารัด(nanofarad:nF)และพิโกฟารัด(picofarad:pF)ซึ่งจะถูกพิมพ์ไว้บนตัวเก็บประจุด้วยความสัมพันธ์ของ
หน่วยของตัวเก็บประจุและค่าที่พิมพ์ลงบนตัวเก็บประจุตามมาตรฐานEIA (Electronic Industry Assocation)

ชนิดของตัวเก็บประจุ และการใช้งาน

ตัวเก็บประจุมีหลายชนิดดังนั้นแต่ละชนิดจึงมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับรหัสอักษร
ที่ใช้แทนชนิดของตัวเก็บประจุชนิดฟิล์ม ดังนี้

KP: โพลีโพรลีน MKP : เมตัลไลซ์โพลีโพรลีน

KS : โพลีไตรลีน MKT: เมตัลไลซ์โพลีเอสเตอร์

KT: โพลีเอสเตอร์ MKT-P : เมตัลไลซ์โพลีเอสเตอร์/กระดาษ

MK : เมตัลไลซ์พลาสติก MKY: เมตัลไลซ์โพลีโพรไพลีนราคาถูก

MKC : เมตัลไลซ์โพลีคาร์บอเนต
MKL (MKO) : เมตัลไลซ์แลคเกอร์

เมื่อมีหลากหลายชนิด การนำไปใช้งานย่อมแตกต่างกันดังนี้

ชนิดของตัวเก็บประจุ การใช้งาน
อิเล็กทรอไลด์

แทนทาลัม

เซรามิก

กระดาษ

โพลีเอสเตอร์

โพลีคาร์บอเนต

โพลีสไตรีน

โพลีโพรไพลีน

-ใช้ในวงจรกรองแรงดันไฟตรงที่ได้จากการเร็กติไฟร์

-ใช้ในการคับปลิ้งสัญญาณในวงจรขยายเสียง

-ใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำของค่าความจุสูง

-ใช้ในวงจรเรโซแนนซ์

-ใช้ในวงจรกรองความถี่สูง

-ใช้ในการเพาเวอร์แฟกเตอร์

-ใช้งานได้ทั่ว ๆ ไป

-มีค่าให้เลือกใช้มากมาย

-ใช้ในการชดเชยอุณหภูมิ

-ใช้ในวงจรจูนหรือออสซิลเลเตอร์

-อินเวอร์เตอร์กำลังสูง ๆ

-คอนเวอร์เตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น