วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การ Upload ฐานข้อมูลที่สร้างจาก MySQL

ได้รับคำถามจาก หลายท่านถามมาว่า...ถ้าต้องการ Upload ฐานข้อมูลที่สร้างจาก MySQL ขึ้นไปไว้บน HOST หรือ Server ที่เช่าอยู่ หรือใช้งานอยู่บน Internet จริง จะทำอย่างไร? เพราะว่า MySQL ไม่มีไฟล์ที่เป็นก้อน ๆ ไฟล์เดียวแบบที่ MS Access มี จะทำอย่างไรดี บทความนี้ผมจึงจัดทำขึ้นมาเพื่อตอบคำถามนั้น ลองมาทำความเข้าใจกันดูครับ
.................................................................................................................................................................
# ที่ฝั่งเครื่องของเรา (Local)
1. เริ่มจากขั้นตอนแรก คือ ให้ทำการเปิด PHPMyAdmin ของคุณขึ้นมา เช่น ที่เครื่องคุณอาจจะเรียกเป็น http://localhost/phpmyadmin/ จากนั้นทำการ Select ไปที่ Database ที่คุณต้องการนำขึ้นไปติดตั้งบน Server บน Internet จริง ดังรูป

2. เมื่อเลือก Database ที่คุณต้องการนำไปติดตั้งที่ Server ได้แล้ว จากนั้นทำการ Click เลือกที่ TAB ที่ชื่อว่า ส่งออก หรือ Export

3. จากนั้นโปรแกรมจะแสดงหน้าจอขึ้นมา ดังรูป

ที่หน้าจอของการ Export ข้อมูล จะมี Option ให้เราเลือกในการนำข้อมูลออก ดังนี้
Option การกระทำ
ส่งออก เลือกชื่อ Table ที่เราต้องการนำออก กรณีต้องการนำออกมาทั้งหมดให้เลือกที่ เลือกทั้งหมด จากนั้นเลือกที่ Option SQL
ตัวเลือก SQL ให้เลือก Option ต่าง ๆ ดังรูปข้างต้น
ส่งมาเป็นไฟล์ ให้ติ๊กเลือกที่ Option นี้ด้วย

บีบอัดข้อมูล เลือกที่ไม่มี หรืออาจจะเลือกเป็น ZIP เพื่อให้ส่งไฟล์มาในรูปแบบ ZIP ไฟล์ แต่ตอนนำไปเข้าที่ Server ต้องทำการแตก ZIP ไฟล์เสียก่อน

4. เมื่อทำการกำหนด Option ค่าต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการแล้วห็ทำการกดที่ปุ่ม ลงมือ ได้เลยครับ

5. โปรแกรมจะทำการส่งไฟล์ฐานข้อมูลออกมาให้เรา ให้เราทำการ Save เก็บไว้ ดังรูป

6. เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนในฝั่งเครื่องของเราครับ
.................................................................................................................................................................
## ที่ฝั่ง Server หรือ HOST บน Internet
1. ให้คุณทำการเรียก URL ที่ Browser เปิดไปยังโปรแกรม PHPMyAdmin ที่อยู่บน Server ของเรา ซึ่งตรงนี้อาจจะได้เป็น
http://www.mydomain.com/admin/phpmyadmin/ เป็นต้น ในกรณีที่ไม่รู้ว่าจะเรียกโปรแกรมนี้บน Server ได้อย่างไร ตรงนี้เราสามารถสอบถามได้จากผู้ให้บริการโฮสเราว่า เราจะสามารถเรียกใช้งาน PHPMyAdmin ได้อย่างไรบน Server เพราะเนื่องจากโดยปรกติแล้ว PHPMyAdmin จะมีให้ใช้งานเกือบทุก Hosting ที่สามารถใช้งาน MySQL ได้อยู่แล้ว
2. เมื่อทำการเรียกโปรแกรม PHPMyAdmin ที่ Hosting ของคุณขึ้นมาแล้ว โปรแกรมจะทำการเปิดหน้าจอขึ้นมาดังรูป

3. จากนั้นเลือกไปยังฐานข้อมูล ที่คุณต้องการนำฐานข้อมูลที่คุณทำการ Export ออกมาจากเครื่องของเราเข้าสู่ฐานข้อมูลบน Hosting ดังรูป

4. จากนั้นทำการ Click ไปที่ TAB ที่ชื่อว่า SQL ดังรูป

5. เมื่อ CLick แล้วโปรแกรมจะเปิดหน้าจอออกาดังรูป ให้เราไปที่ Option สำหรับการ Browse... เลือกไฟล์ ดังรูป และกดที่ปุ่ม Browse...

6. จากนั้นทำการเลือกไฟล์ที่เราทำการ ส่งออก/Export ออกมาจากขั้นตอนที่ผ่านมาแล้ว ดังรูป

7. เมื่อเลือกไฟล์ได้แล้ว ก็ทำการกดที่ปุ่ม ลงมือ จากนั้นโปรแกรมจะรายงานการข้อมูลลงสู่ MySQL ซึ่งอยู่บน Hosting ให้เราทราบ ดังรูป

8. เป็นอันเสร็จสิ้นการนำข้อมูลของ MySQL ที่อยู่บนเครื่องของเรา นำขึ้นสู่ฐานข้อมูลบน Hosting จริง

การต่อ cell ไฟฟ้า

Elec trical Cell

การต่อ cell ไฟฟ้า
1. การต่อเซลไฟฟ้าแบบอนุกรม เป็นการนำเซลไฟฟ้ามาต่อเรียงแถวเดียวโดยนำเอาขั้วบวกต่อกับขั้วลบ และขั้วลบต่อกับขั้วบวกไป เรื่อยๆดังรูป

ผลของการต่อ คือ
1. กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านทุกเซลเท่ากันหมด และเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจรภายนอก
2. แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวม = ผลบวกของแรงเคลื่อนไฟฟ้าแต่ละเซลล์ E รวม = E1 + E2 +..
3. ความต้านทานภายในรวม = ผลบวกความต้านทานภายในแต่ละตัว
จาก ผล 3 ข้อ นี้เราจึงสรุปได้ว่า ถ้ามีเซลไฟฟ้า n เซล

I = nE / (R+nr)

2. การต่อเซลไฟฟ้าแบบขนาน เป็นการต่อ เซลไฟฟ้าโดยนำเอาปลายขั้วบวกมาต่อรวมกันที่จุดๆหนึ่ง และปลายขั้วลบมาต่อรวมกันที่ อีกจุดหนึ่ง ดังรูป

ผลของการต่อเซลแบบขนาน คือ
1. แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวม = แรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลเพียงเซลเดียว E รวม = E เซลเดียว
2. กระแสไฟฟ้ารวมในวงจร = ผลบวกของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเซลแต่ละเซล I = I1 + I2 + I3+..
3. ความต้านทานภายในรวมมีค่าลดลง 1/r รวม = 1/r1 + 1/r2 + 1/r3 + ...
จากผล 3 ข้อนี้จึงหา I ได้จาก

I = E / (R+ R/n)

3. การต่อเซลไฟฟ้าแบบผสม เป็นการต่อเซลไฟฟ้าแบบอนุกรมและขนานรวมกัน โดยเซลแต่ละ แถวต่อแบบอนุกรมกัน และทุกแถวนำมาต่อแบบขนาน ในการต่อเซลแบบนี้จำนวนเซล ในแต่ละแถวต้องมีค่าเท่ากัน ดังรูป

ผลของการต่อเซลแบบผสม คือ
1. แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวม = ผลรวมของแรงเคลื่อนไฟฟ้าแต่ละแถว
2. กระแสไฟฟ้ารวมในวงจร = ผลบวกของกระแสไฟฟ้าในแต่ละแถว
3. ความต้านทานภายในรวม = ความต้านทานภายในของทุกแถวต่อขนานกัน
ถ้า ให้ x = จำนวนเซลในแต่ละแถว y = จำนวนแถว จะได้

I = E / (R/x + r/y)

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ตัวต้านทาน(Resistor )

ตัวต้านทาน(Resistor )

เป็นอุปกรณ์ที่ สามารถจำกัดจำนวนกระแสไฟฟ้า ภายในตัวต้านทานจะประกอบด้วยผงคาร์บอนผสมกับตัวยึดเหนี่ยวคล้ายกาว ชนิดของตัวต้านทานได้แก่ คาร์บอน, ฟิล์มคาร์บอน, ขดลวด เป็นต้น สัญลักษณ์ของตัวต้านทาน

ค่าของตัวต้านทาน
ตัวต้านทานมีค่าที่เรียกว่าความต้านทาน(resistance)มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohm:W)แต่
หน่วยโอห์มนี้เล็กมาก โดยหน่วยของความต้านทานที่นิยมใช้คือกิโลโอห์ม(Kilo ohm:KW)และ เมกกะ(Mega ohm:MW)ซึ่งจะถูกพิมพ์ไว้บนตัวต้านทานแทนด้วย รหัสสี

รหัสสี สี แถบ 1 หลักสิบ แถบ 2 หลักหน่วย แถบ 3 ตัวคูณ แถบ 4 ค่าคลาดเคลื่อน
ดำ(black)
0 0 1 ทอง(gold) = -5%หรือ +5%
น้ำตาล(brown)
1 1 10 เงิน(silver) = -10%หรือ +10%
แดง(red)
2 2 100 ไม่มีสี(none) = -20%หรือ +20%
ส้ม(orange)
3 3 1,000(1K)
เหลือง(yellow)
4 4 10,000(10K)
เขียว(green)
5 5 100,000(100K)
น้ำเงิน(blue)
6 6 1,000,000(1M)
ม่วง(violet)
7 7 10,000,000(10M)
เทา(gray)
8 8 100,000,000(100M)
ขาว(white)
9 9 ไม่มี

กลับไปที่สารบัญ

ตัวเก็บประจุ(Capacitor หรือ Condenser)

เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ มีการไปใช้ในวงจรกรองแรงดัน, วงจรกรองความถี่,
ใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณ (coupling) เป็นต้น ภายในตัวเก็บประจุจะประกอบด้วยแผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่น
วางห่างกันโดยมีสารไดอิเล็กตริกกั้นอยู่ระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสอง ชนิดของตัวเก็บประจุจะขึ้นอยู่กับสารไดอิเล็กตริกที่ใช้
อันได้แก่ เซรามิก, ไมล่าร์, อิเล็กทรอไลต์, โพลีเอส-เตอร์.แทนทาลั่ม,แก้ว เป็นต้น
สัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุ

ค่าของตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุมีค่าที่เรียกว่าความจุไฟฟ้า(capacitance)มีหน่วยเป็นฟารัด(Farad)แต่ทว่า หน่วยฟารัดนี้ใหญ่มาก
จึงต้องทอนลงมาให้เป็นหน่วยย่อยโดยหน่วยของความจุไฟฟ้าที่นิยมใช้คือไมโครฟารัด(microfarad:mF),
นาโนฟารัด(nanofarad:nF)และพิโกฟารัด(picofarad:pF)ซึ่งจะถูกพิมพ์ไว้บนตัวเก็บประจุด้วยความสัมพันธ์ของ
หน่วยของตัวเก็บประจุและค่าที่พิมพ์ลงบนตัวเก็บประจุตามมาตรฐานEIA (Electronic Industry Assocation)

ชนิดของตัวเก็บประจุ และการใช้งาน

ตัวเก็บประจุมีหลายชนิดดังนั้นแต่ละชนิดจึงมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับรหัสอักษร
ที่ใช้แทนชนิดของตัวเก็บประจุชนิดฟิล์ม ดังนี้

KP: โพลีโพรลีน MKP : เมตัลไลซ์โพลีโพรลีน

KS : โพลีไตรลีน MKT: เมตัลไลซ์โพลีเอสเตอร์

KT: โพลีเอสเตอร์ MKT-P : เมตัลไลซ์โพลีเอสเตอร์/กระดาษ

MK : เมตัลไลซ์พลาสติก MKY: เมตัลไลซ์โพลีโพรไพลีนราคาถูก

MKC : เมตัลไลซ์โพลีคาร์บอเนต
MKL (MKO) : เมตัลไลซ์แลคเกอร์

เมื่อมีหลากหลายชนิด การนำไปใช้งานย่อมแตกต่างกันดังนี้

ชนิดของตัวเก็บประจุ การใช้งาน
อิเล็กทรอไลด์

แทนทาลัม

เซรามิก

กระดาษ

โพลีเอสเตอร์

โพลีคาร์บอเนต

โพลีสไตรีน

โพลีโพรไพลีน

-ใช้ในวงจรกรองแรงดันไฟตรงที่ได้จากการเร็กติไฟร์

-ใช้ในการคับปลิ้งสัญญาณในวงจรขยายเสียง

-ใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำของค่าความจุสูง

-ใช้ในวงจรเรโซแนนซ์

-ใช้ในวงจรกรองความถี่สูง

-ใช้ในการเพาเวอร์แฟกเตอร์

-ใช้งานได้ทั่ว ๆ ไป

-มีค่าให้เลือกใช้มากมาย

-ใช้ในการชดเชยอุณหภูมิ

-ใช้ในวงจรจูนหรือออสซิลเลเตอร์

-อินเวอร์เตอร์กำลังสูง ๆ

-คอนเวอร์เตอร์

ไฟฟ้าเบื้องต้น

โครงสร้างของสสาร


สสาร ต่างๆที่อยู่บนโลกนี้และอยู่ในอากาศรอบๆโลก สามารถแบ่งออกได้เป็น ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ สสารเหล่านี้จะสามารถแบ่งเป็นธาตุต่างๆตามธรรมชาติ ซึ่งธาตุนั้นก็หมายถึง สารประกอบที่มีอะตอมหลายๆตัวรวมกันและในธาตุแต่ละชนิดจะมีอะตอมที่แตกต่างกันออกไป

อะตอม


อะตอม หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุเมื่อทำการแบ่งแยกแล้วจะทำให้คุณสมบัติของธาตุ นั้นเปลี่ยนไป ในปัจจุบันนี้เรายังไม่สามารถที่จะดูอะตอมของธาตุต่างๆ ได้อย่างชัดเจนนัก โดยเราสามาถใช้กล้องไมโครสโคป ส่องดูอะตอมของธาตุแต่อย่างไรก็ตามนักฟิสิกส์และนักวิจัยต่างๆ ก็คงพยายามที่จะบันทึกภาพของอะตอมที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 12 ล้านล้าน ส่วนของนิ้วและได้ตั้งสมมติฐานว่าอะตอมนั้นมีลักษณะเป็นละอองฝอยคล้ายลูกบอล สีขาว
ในปี ค.ศ. 1913 นักฟิสิกส์ชื่อ Danish Neils Bohr ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอมว่า อะตอมประกอบด้วยอนุภาคสำคัญ 3 ส่วนคือ โปรตอน มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก นิวตรอนมีคุณสมบัติเป็นกลางทางไฟฟ้า และอิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ โดยมีส่วนที่เป็นใจกลางของอะตอมเรียกว่า นิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วย โปรตรอนและนิวตรอน ส่วนอิเล็กตรอนนั้นจะโคจรอยู่รอบๆ นิวเคลียส

โมเลกุล


โมเลกุล คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุตามธรรมชาติ โดยธาตุต่างๆจะประกอบด้วยอะตอมมากมายหลายล้านอะตอม เมื่อเรานำสารต่างชนิดกันเราเรียกว่าสารประกอบ หน่วยที่เล็กของสารประกอบเรียกว่า โมเลกุล ซึ่งอะตอมที่เป็นประกอบธาตุและโมเลกุลที่ประกอบกันเป็นสารประกอบ เช่น น้ำ ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 โมเลกุล และ ออกซิเจน 1 โมเลกุล

แหล่งกำเนิดไฟฟ้า


แหล่งกำเนิดไฟฟ้าหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้า คือ แหล่งที่จ่ายพลังงานศักย์ไฟฟ้า หรืออาจเรียกว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า ออกมาใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆไปสามารถแบ่งออกเป็น 4ชนิดใหญ่ๆคือ
1. แบตเตอรี่
2. เซลล์แสงอาทิตย์
3. เจอเนอเรเตอร์
4. แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบอิเล็กทรอนิกส์

แบตเตอรี่ เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่อาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงพลังงานเคมีให้เป็นพลังงาน ไฟฟ้า แบตเตอรี่ประกอบด้วยเซลล์ไฟฟ้าตั้งแต่ 1 เซลล์ หรือมากกว่า โดยเซลล์นี้จะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันทางไฟฟ้าซึ่งจะประกอบด้วยอุปกรณ์พื้นฐาน 4 ส่วน
1. ขั้วบวก (Positive Electrode)
2. ขั้วลบ (Negative Electrode)
3. อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte)
4. ตัวขั้นเซลล์ (Seperator)

ขั้ว บวกเป็นส่วนที่สูญเสียอิเล็กตรอนเนื่องจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี ส่วนลบจะเป็นตัวรับอิเล็กตรอนภายหลังที่เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมีขึ้น สำหรับอิเล็กโตรไลต์จะเป็นตัวกลางให้อิเล็กตรอนไหลผ่านระหว่างขั้วบวกและ ขั้วลบ ส่วนตัวขั้นเซลล์จะใช้แยกส่วนของขั้วบวกและขั้วลบออกจากกันทางไฟฟ้า
สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากเซลแบตเตอรี่จะถูกกำหนดโดยวัสดุที่ใช้สร้าง ซึ่งแรงปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นแต่ละขั้วอิเล็กโทรดจะให้ค่าศักย์ทาง ไฟฟ้าค่าหนึ่ง เช่น เซลล์แบตเตอรี่แบบตะกั่ว - กรด ที่ขั้วบวกจะให้ศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ - 1.685 โวลต์ ส่วที่ขั้วลบจะให้ศักย์ไฟฟ้าเท่ากับ + 0.365 โวลต์ จากศักย์ไฟฟ้าที่ได้จากขั้วอิเล็กโทรดทั้งสองทำให้ได้ผลรวมของแรงดันไฟฟ้า เท่ากับ 2.05 โวลต์ ซึ่งค่าแรงดันทางไฟฟ้านี้จะเป็นศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของเซลล์แบตเตอรี่แบบ ตะกั่ว - กรด
นอกจากศักย์ไฟฟ้าที่ได้จากแต่ละขั้วอิเล็กโทรดแล้ว ความเข้มข้นของกรดภายในแบตเตอรี่ก็จะมีผลต่อค่าแรงดันไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ดังนั้น แรงดันไฟฟ้าโดยทั่วไปที่ได้จากแบตเตอรี่แบบตะกั่ว - กรด จะประมาณ 2.15 โวลต์ สำหรับเซลล์นิเกิล - แคดเมียม จะให้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 1.2 โวลต์ ส่วนเซลล์ลิเทียม จะให้แรงดันไฟฟ้าออกมาสูงถึง 4 โวลต์
โดยทั่วไปแล้วแบตเตอรี่จะประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ที่มีการเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้าอยู่ภายใน ซึ่งวิธีการต่อของแต่ละเซลล์และชนิดของวัสดุที่นำมาใช้เป็นเซลล์ จะเป็นปัจจัยที่กำหนดขนาดของแรงดันไฟฟ้าและความจุไฟของแบตเตอรี่ โดยการต่อถ้าให้ขั้วบวกของเซลล์หนึ่งต่อกับขั้วลบของเซลล์ถัดไป และต่อกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ได้เท่ากับผลรวมของแรงดันไฟฟ้าของแต่ละเซลล์รวมกัน เรียกการต่อแบบนี้ว่า การต่อแบบอนุกรมหรือการต่อแบบอันดับ ส่วนวิธีการเพิ่มความจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่นั้น จะต้องต่อให้ขั้วบวกของทุกเซลล์เข้าด้วยกันและขั้วลบของทุกเซลล์เข้าด้วยกัน เรียกการต่อแบบนี้ว่า การต่อแบบขนาน

สำหรับการแบ่งกลุ่มของแบตเตอรี่ สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มหลักดังนี้
1. แบตเตอรี่แบบปฐมภูมิ (Primary Battery)
2. แบตเตอรี่แบบทุติยภูมิ (Secondary Battery)
แบตเตอรี่แบบปฐมภูมิ หมายถึง แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้เพียงครั้งเดียวและเมื่อประจุไฟหมดแล้วจะต้องทิ้งไป ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีแบบย้อนกลับใหม่ได้ ส่วนแบตเตอรี่ทุติยภูมิสามารถจะทำปฏิกิริยาทางเคมีแบบย้อนกลับได้ ดังนั้น จึงสามารถทำการเก็บประจุไฟใหม่และนำกลับมาใช้งานได้อีก

เซลล์แสงอาทิตย์


เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าที่อาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงพลังงานแสง ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ 2 ชนิด เชื่อมกันเพื่อให้เกิดรอยต่อ เมื่อผิวของสารกึ่งตัวนำด้านหนึ่งถูกแสงจะทำให้อิเล็กตรอนได้รับพลังงาน เพียงพอจะทำให้อะตอมเคลื่อนที่ข้ามรอยต่อทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า

เจนเนอเรเตอร์


เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า หลักการทำงานโดยการทำให้ตัวนำหมุนตัดผ่านสนามแม่เหล็กซึ่งการจัดการทำงาน ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำผ่านตัวนำที่หมุนอยู่ และสามารถต่อแรงดันไฟฟ้านี้ออกไปใช้งานภายนอกได้

แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบอิเล็กทรอนิกส์


เป็นแหล่งจ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพลังงานในรูปแบบใดให้เป็นพลังงานไฟฟ้า แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจากระบบไฟฟ้าที่ใช้กันตามบ้านเรือนทั่วไปให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่มีค่าความคงที่ การต่อออกไปใช้งานเพียงต่อออกจากขั้วไฟที่เตรียมไว้

หน่วยวัดทางไฟฟ้า


กระแสไฟฟ้า Electrical Current เกิด จากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งภายในตัวนำไฟฟ้า การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเกิดจากการนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าต่างกันนำมาวาง ไว้ใกล้กันโดยจะใช้ตัวนำทางไฟฟ้าคือ ทองแดง การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่จากวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าบวกไปยัง วัตถุ ที่มีประจุไฟฟ้าลบมีหน่วยเป็น Ampere อักษรย่อคือ " A "

กระแสไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด

1. ไฟฟ้ากระแสตรง Direct Current เป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆได้เพียงทิศทางเดียว สำหรับแหล่งจ่ายไฟฟ้านั้น มาจากเซลล์ปฐมภูมิคือถ่านไฟฉาย หรือเซลล์ทุติยภูมิคือ แบตเตอรี่ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง

2. ไฟฟ้ากระแสสลับ Alternating Current เป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆโดยมีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาตลอดเวลา สำหรับแหล่งจ่ายไฟนั้นมาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับชนิดหนึ่งเฟสหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับชนิดสามเฟส

แรงดันไฟฟ้า Voltage

เป็น แรงที่ทำให้อิเล็กตรอนเกิดการเคลื่อนที่ หรือแรงที่ทำให้เกิดการไหลของไฟฟ้าโดยแรงดันไฟฟ้าที่มีระดับต่างกันจะมี ปริมาณไฟฟ้าสูงเนื่องจากปริมาณประจุไฟฟ้าทั้งสองด้านมีความแตกต่างกัน ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน โดยทั่วๆไปแล้วแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวภายในวงจรไฟฟ้า หรือแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟฟ้า จะใช้หน่วยของแรงดันไฟฟ้าจะใช้ตัวอักษร V ตัวใหญ่ธรรมดา จะแทนคำว่า Volt ซึ่งเป็นหน่วยวัดของแรงดันไฟฟ้า



ความต้านทานไฟฟ้า


ความต้านทานไฟฟ้า Resistance
เป็นการต่อต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าของวัตถุซึ่งจะมีค่ามากหรือค่าน้อยจะขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุนั้นๆ ความต้านทานจะมีหน่วยวัดเป็น โอห์ม และจะใช้สัญลักษณ์เป็น ( Ohms)

ตัวนำไฟฟ้า
ตัวนำไฟฟ้า Conductors วัตถุที่กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้โดยง่ายหรือวัตถุที่มีความต้านทานต่ำ เช่นทองแดง อลูมิเนียม ทอง และเงิน ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด ค่าความนำไฟฟ้าจะมีสัญลักษณ์เป็น G และมีหน่วยเป็น ซีเมนส์ (S) โดยมีสูตรการคำนวนดังนี้

G = 1/R


ตัวอย่าง
วัตถุชนิดหนึ่งมีค่าความต้านทานไฟฟ้า 25 โอห์ม จงคำนวนหาค่าความนำไฟฟ้าของวัตถุชนิดนี้มีค่าเป็นเท่าไร

จากสูตร
G = 1/R

แทนค่า
G = 1/25
คำตอบ
G = 40 mS

ฉนวนไฟฟ้า


ฉนวนไฟฟ้า Insulators วัตถุที่ซึ่งไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปได้ หรือวัตถุที่มีความต้านทานไฟฟ้าสูง ซึ่งสามารถต้านทานการไหลของกระแสได้ เช่น ไมก้า แก้ว และพลาสติก

การเปลี่ยนหน่วยทางไฟฟ้า


หน่วยวัดพื้นฐานทางไฟฟ้า ได้แก่ แอมแปร์ A โวลต์ V และโอห์ม W ซึ่งจะใช้ในการแสดงปริมาณกระแสไฟฟ้า ขนาดของแรงดัน และค่าความต้านทาน เพื่อให้เกิดความสะดวกจึงมีการใช้ตัวคูณมาใช้ในการแสดงค่า

เปลี่ยนหน่วยทางไฟฟ้า

หน่วยวัดพื้นฐานทางไฟฟ้า ได้แก่ แอมแปร์ A โวลต์ V และโอห์ม W ซึ่งจะใช้ในการแสดงปริมาณกระแสไฟฟ้า ขนาดของแรงดัน และค่าความต้านทาน เพื่อให้เกิดความสะดวกจึงมีการใช้ตัวคูณมาใช้ในการแสดงค่า

หน่วยทางไฟฟ้า
สัญลักษณ์
หน่วยเทียบ
Mega M 1,000,000
Kilo K 1,000
Milli m 0.001
Micro u
0.000001






กฎของโอห์ม

กระแส ไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้าได้นั้น เกิดจากแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับวงจรและปริมาณกระแสไฟฟ้าภายในวงจรจะถูก จำกัดโดยความต้านทานไฟฟ้าภายในวงจรไฟฟ้านั้นๆ ดังนั้นปริมาณกระแสไฟฟ้าภายในวงจรจะขึ้นอยู่กับแรงดันไฟฟ้าและค่าความต้าน ทานของวงจร ซึ่งวงจรนี้ถูกค้นพบด้วย George Simon Ohm เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันและนำออกมาเผยแพร่ในปี ค.ศ.1826 ซึ่งวงจรนี้เรียกว่า กฎของโอห์ม กล่าวว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรจะแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้าและแปรผกผันกับค่า ความต้านทานไฟฟ้า โดยเขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้



ตัวอย่าง


จงคำนวนหาค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าของวงจรไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าขนาด 50 โวลต์ และมีค่าความต้านทานของวงจรเท่ากับ 5 โอห์ม


วิธีทำ

กำลังไฟฟ้า


กำลังไฟฟ้า Electrical Power เป็นกำลังไฟฟ้าที่ใช้ไปในการทำให้เกิดพลังงานในรูปต่างๆ เช่น พลังงานความร้อน พลังงานแสงสว่าง พลังงานกล มีหน่วยเป็น วัตต์ Watt ใช้สัญลักษณ์เป็น " W " ตามชื่อของ James Watt ซึ่งกำลังไฟฟ้ามีสูตรการคำนวนดังนี้

ตัวอย่าง
จงคำนวนหากำลังไฟฟ้าของโหลดของวงจรไฟฟ้าที่มีแรงดัน 200 โวลต์ ตกคร่อมอยู่และมีกระแสไฟฟ้า 1.5 แอมแปร์ ไหลผ่านโหลด

วิธีทำ

การวัดกำลังไฟฟ้า


วัตต์มิเตอร์ Wattmeter เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยการวัดจะต้องต่อขั้วไฟให้ถูกต้อง ซึ่งเราจะอ่านค่าของกำลังไฟฟ้าได้โดยตรงจากวัตต์มิเตอร์

การ วัดกำลังไฟฟ้าของเครื่องรับวิทยุ ต่อโดยให้ขั้วเสียบของช่องกระแสไฟฟ้าของเครื่องวัดวัตต์มิเตอร์ต่อในลักษณะ ที่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องวัดวัตต์มิเตอร์ก่อนที่จะไหลไปยังเครื่องรับ วิทยุ ในขณะที่ขั้วเสียบของเสียบของช่องแรงดันไฟฟ้าให้ต่อคร่อมแหล่งจ่ายไที่จ่าย แรงดันไฟฟ้าให้แก่เครื่องรับวิทยุ ดังนั้น วัตต์มิเตอร์จึงเป็นทั้งแอมมิเตอร์ และโวลต์มิเตอร์ในตัวเดียวกันและทำการแสดงผลคูณของ P = I x V ซึ่งเราสามารถอ่านค่ากำลังไฟฟ้าของเครื่องรับวิทยุได้โดยตรงจากมิเตอร์

กิโลวัตต์ - ชั่วโมง


การที่เราจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าทุกๆเดือนเป็นการแสดงค่าใช้จ่ายของ พลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้ไปในแต่ละเดือนจะวัดในหน่วยที่เรียกว่า กิโลวัตต์ - ชั่วโมง ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 1000 วัตต์ ใน 1 ชั่วโมง และอุปกรณ์ที่วัดนี้มีชื่อเรียกว่า Kilowatt - Hour meter จึงสามารถนำค่าพลังงานที่วัดมาได้มาใช้ในการคำนวนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายไฟฟ้า ในแต่ละเดือน สามารถคำนวนหาค่าพลังงานที่ถูกใช้ไปได้จากสูตรดังต่อไปนี้

พลังงานที่ถูกใช้ไป = กำลังไฟฟ้า x เวลา

ตัวอย่าง
ถ้าหลอดไฟขนาด 100 วัตต์ ถูกเปิดไว้นาน 10 ชั่วโมง จงคำนวนหาค่าพลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้ไป

วิธีทำ


กฎของโอห์ม

กฎของโอห์ม

"เมื่ออุณหภูมิคงที่ อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์กับกระแสไฟฟ้าของตัวนำอันหนึ่งย่อมคงที่เสมอ" ซึ่งเขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ว่า


ข้อควรรู้ วิธีการจำสูตรง่ายๆ ให้ใช้รูปต่อไปนี้


เมื่อ V คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้า (โวลต์)
I คือ กระแสไฟฟ้า (แอมแปร์)
R คือ ความต้านทานไฟฟ้า (โอห์ม)

ความสัมพันธ์ตามสมการนี้เรียกว่า กฎของโอห์ม นั่นคือ เราจะสามารถให้คำจำกัดความของความต้านทาน 1 โอห์ม คือ ความต้านทานที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ในระหว่างขั้วไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ 1 โวลต์

ข้อควรรู้
จอร์จ ไซมอน โอห์ม (George Simon Ohm) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เป็นผู้ค้นพบกฎของโอห์มใน ปี พ.ศ. 2369 ชื่อของเขาได้รับเกียรติตั้งเป็นคำเรียกหน่วยของความต้านทานทางไฟฟ้า คือ โอห์ม หรือ เขียนย่อด้วยสัญลักษณ์ V


การต่อวงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า (electric circuit) หมายถึง เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบรอบ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะมีความต้านทานเฉพาะตัวที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากหรือน้อยแตกต่างกัน
วงจรปิด (close circuit) คือ วงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลครบรอบ

วงจรเปิด (open circuit) คือ วงจรไฟฟ้าที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เนื่องจากส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจรขาดหรือไม่เชื่อมต่อกันมีผลทำให้เครื่องใช้ ไฟฟ้าไม่ทำงานเพระาไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไป
องค์ประกอบที่สำคัญของวงจรไฟฟ้าที่จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้ คือ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า


ตารางแสดงสัญลักษณ์ที่ใช้ในการต่อวงจรไฟฟ้า


การต่อวงจรไฟฟ้าโดยทั่วไปมี 3 แบบ ดังนี้
1. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม (series circuit) เป็นการต่อเรียงกันเป็นสายเดียว เช่น การต่อหลอดไฟฟ้าโดยการต่อปลายหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 กับปลายหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 และต่อปลายหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 อีกอันหนึ่งกับหลอดไฟฟ้าหลอดอื่นไปเรื่อยๆ จนครบวงจร กระแสไฟฟ้าจะไหลในทิศทางเดียวกันตลอด โดยไม่แยกเป็นหลายสาย
ดังรูป

รูปแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม

2. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน (parallel circuit) เป็นการต่อโดยที่กระแสไฟฟ้ามีการแยกไหลออกได้หลายทางและช่วงสุดท้ายจะไหลมา รวมกัน เช่น ต่อหลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดเข้าด้วยกัน และรวมปลายอีกด้านหนึ่งของหลอดไฟฟ้าทุกหลอดเข้าด้วยกัน

รูปแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน

3. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม (hybrid circuit) เป็นการต่อวงจรที่มีทั้งแบบอนุกรมและแบบขนานในวงจรเดียวกัน


รูปแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม

ตารางแสดงการเปรียบเทียบผลการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน

แบบอนุกรม

แบบขนาน

1. กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดมีค่าเท่ากัน และเท่ากับกระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ไหลในวงจร ดังสมการ

1. กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดจะไม่เท่ากัน แต่ถ้าหลอดมีความต้านทานไม่เท่ากัน แต่กระแสไฟฟ้ารวมจะเท่ากับผลบวกของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านแต่ละหลอด ดังสมการ

2. ความต้านทานรวม จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนหลอดไฟฟ้าที่นำมาต่อกัน จึงทำให้ความต้านทานมีค่ามาก ดังสมการ

2. ความต้านทานรวมจะน้อยลง และน้อยกว่าความต้านทานที่น้อยที่สุดในวงจร ความต้านทานรวมจะมีค่า ดังสมการ

3. ความต่างศักย์รวม มีค่าเท่ากับผลบวกของความต่างศักย์ของ หลอดไฟแต่ละหลอด ดังสมการ

3. ความต่างศักย์รวม จะมีค่าเท่ากับความต่างศักย์ของหลอดไฟฟ้าแต่ละหลอด ดังสมการ

4. หลอดไฟทุกหลอดจะทำงานและหยุดทำงานพร้อมกัน ไม่สามารถเลือกเปิด-ปิด หลอดใดหลอดหนึ่งตามต้องการได้

4. หลอดไฟแต่ละหลอดจะทำงานและหยุดทำงานแยกกัน ดังนั้นจึงสามารถเลือกเปิด-ปิด หลอดใดหลอดหนึ่งได้ตามต้องการ

ข้อควรรู้
1. การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม หลอดไฟฟ้าจะสว่างน้อยกว่าการต่อแบบขนาน เพราะการต่อแบบอนุกรมจะทำให้ความต้านทานรวมในวงจรมีค่ามากกระแสไฟฟ้าผ่านได้ น้อย
2. เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดในบ้านจะต่อกันแบบขนานทั้งนี้เพื่อ
- ให้ความต้านทานรวมมีค่าน้อยลง ทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากพอที่จะให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำได้ดี
- ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอย่างได้รับความต่างศักย์เท่ากันทั้งหมดตรงตามที่กำหนดไว้ที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้น
- สามารถเลือกเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอย่างได้ตามต้องการ