วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สะพานแขวน




สะพานแขวน (suspension bridge) สะพานแบบสะพานแขวนนั้น ถือว่าเป็นแบบที่มีช่วงข้ามยาวที่สุด เมื่อเทียบกับสะพานแบบอื่นๆครับ โดยโครงสร้างของสะพาน จะประกอบด้วยการโยงสายเคเบิล ข้ามฝั่งจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยที่แต่ละฝั่งก็จะสร้างฐาน ยึดสายเคเบิลนี้ไว้อย่างแน่นหนา ส่วนเคเบิลนี้จะขึ้นไป พาดอยู่บนเสาที่อยู่ระหว่างฝั่ง โดยส่วนมากจะออกแบบให้มีสองเสาดังรูป ส่วนตัวพื้นสะพานก็จะถูกยึดแขวน ด้วยสายโยงไปยังสายเคเบิลนี้

สำหรับในการทำงานนั้น นํ้าหนักบนสะพานจะดึง สายโยงย่อยไปยังสายเคเบิล และแรงดึงที่เกิดขึ้นในสายเคเบิล ก็จะถูกถ่ายออกไปยังฐานยึดของสายเคเบิล ที่อยู่บนฝั่งตลิ่งทั้งสองข้าง ส่วนเสาตรงกลางทั้งสอง จะเป็นตัวรับนํ้าหนักของสะพานนั่นเอง ด้วยการใช้สายเคเบิลในช่วยถ่ายนํ้าหนัก จากพื้นสะพานนี้เอง ทำให้สามารถขยายช่วงข้ามในยาวออกไปได้ นอกจากนั้น






สะพานขึง

ความแตกต่างระหว่างสองสะพานนี้ดูที่สายเคเบิลนี่เอง
สะพานแขวนคือการแขวนสายเคเบิ้ลหลักกับโครงสะพาน หรือเรียกว่าหอคอนกรีต สายเคเบิลหลักนี้จะแขวนเพื่อทำน้ำหนักกับพื้นผิวสะพาน นักวิศวกรรมศาสตร์จะต้องคำนวณการแขวนให้แม่นยำถึงการหดและขยายตัวของสะพานและสายเหล็กเคเบิล ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศของแต่ละวัน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดเหตุการณ์ประเภทสะพานพลิก ตัวอย่างสะพานแขวนที่โด่งดัง ได้แก่ สะพานโกลเด้นเกต ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา สะพานฮัมเบอร์ของอังกฤษ เป็นต้น
สำหรับสะพานขึง ใช้หลักการขึงหรือดึงสายเคเบิ้ลระหว่างโครงเสากับพื้นสะพาน มีทั้งแบบขึงแนวเดียว (เสารับเคเบิลเดี่ยว) และขึงสองฝั่งถนน (เสารับเคเบิลคู่) ของไทยที่กำลังก่อสร้างอยู่คือสะพานพระราม 8 ใช้สายเคเบิลจำพวกสลิงจำนวนมากเพื่อเป็นตัวขึง เป็นรูป PARABOLA บนยอดตอม่อสูง เพื่อรับน้ำหนักและมีตัวผิวสะพานถูกแขวน ด้วยลวดสลิงในแนวดิ่งอีกทีหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น